
เป็นพระที่นั่งองค์แรกในบริเวณของพระราชวังสนามจันทร์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้นแบบตะวันตก แต่ดัดแปลง เพื่อให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเมืองร้อน สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2450 พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับ ที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และที่ออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯ โดยเฉพาะก่อนเสด็จฯ ขึ้นเถลิง ถวัลย์ราชย์สมบัติ จนถึงปี พ.ศ. 2458 มากกว่าพระที่นั่ง และพระตำหนักองค์อื่น ๆ
![]() |
เป็นตึก 2 ชั้น สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย หลังคาซ้อน มียอดปราสาทมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีงดงามมีช่อ ฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ครบถ้วน พระที่นั่งองค์นี้เคยใช้เป็นที่บรรทมเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่ง ของศาลากลางจังหวัด
![]() |
4.พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เป็นพระที่นั่งโถงใหญ่ในพระราชวังสนามจันทร์เป็นพระที่นั่งที่มีส่วนเชื่อม ต่อกับใกล้เคียงคือพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยหลังคาของพระที่นั่งทั้งสององค์นั้นเชื่อมต่อติดกัน เครื่องประดับตกแต่งหลังคาเหมือนกัน แต่หน้าบันทิศเหนือ
มีรูปจำหลักท้าวอมรินทราธิราชประทานพร ประทับอยู่ในพิมานปราสาทสามยอด พระหัตถ์ซ้ายประทานพร พระหัตถ์ขวาทรงวชิระ แวดล้อมด้วยบริวาร ประกอบด้วยเทวดาและมนุษย์ห้าหมู่ท้องพระโรงพระที่นั่งยกสูง
1 เมตร ตรงกลางยกพื้นรอบ อีก 3 ด้านลดชั้นต่ำลงมา 50 เซนติมตร และมีอัฒจันทร์สองฝั่ง มีประตูติดต่อกับ พระที่นั่งวัชรีรมยาพระที่นั่งองค์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นสถานที่จัดงานหลายอย่าง เช่น งานสโมสรสันนิบาตเสด็จฯออกพบ ปะขุนนาง เป็นสถานที่ฝึกอบรมกองเสือป่า และใช้เป็นที่แสดงโขนละคร ต่างๆ เนื่องจากพระที่นั่งองค์นี้กว้างขวางและสามารถจุคนเป็นจำนวนมาก จึงมีชื่อเรียกติดปากชาวบ้านว่าโรงโขน ซึ่งครั้งหนึ่งระองค์ได้เคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระมหาเศวตฉัตร มาประดิษฐานไว้ภายในนี้ด้วย
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ในพระราชวังสนามจันทร์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม แบบนีโอคลาสสิก ของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วน ให้เหมาะกับภูมิอากาศ แบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้ สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จาก ชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีฯ สะพาน ดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้องและติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปีพ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือ หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าวสีแดงทาสี แดงทั้งหลัง มีเสาไม้กลม ตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นลวดลายประกอบที่ฐาน และหัวเสาพระตำหนักชาลี มงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ และฉนวนสะพานเชื่อมพระตำหนัก เป็นกลุ่มอาคารที่ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากบทละครเรื่อง My Friend Jarlet ของ Arnold Golsworthy และ E.B. Norman ซึ่งทรงแปลบทละครเรื่องนี้เป็นภาษาไทยชื่อว่า“ มิตรแท้ “ โดยชื่อพระตำหนักนั้น มาจากชื่อของนางเอก ได้แก่ มารี เลอร์รูซ์ (Marie Leroux)รวมกับ รัต หรือ รต ซึ่งแปลว่า สีแดง ดังนั้น พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์จึงมีความหมายว่า “ราชบัลลังก์สีแดงแห่งมารี”
![]() |
![]() |
“พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหา ธีรราชเจ้า ในพระราชกรณียกิจด้านกีฬาฟุตบอลของชาติ
![]() |
![]() |
เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด และเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมเรือนไทย ชั้นครู ที่ยังคงลักษณะของเรือนไทยภาคกลาง ฤทัย ใจจงรัก อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้วิจัยเรื่อง “เรือนไทยเดิม” กล่าวว่า “เรือนทับขวัญ ถือว่าเป็นฝีมือครู ซึ่งเป็นแบบฉบับให้อนุชน รุ่นหลังไปศึกษา ค้นคว้าได้ดีที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะ บ้านไทยแบบโบราณและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก ใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2454 พระองค์ได้้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรับเสือป่า พระตำหนัก องค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ ปัจจุบัน ภายในพระตำหนักใช้ จัดแสดงพระราช ประวัติและพระราชกรณียกิจด้านไทยศึกษาของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
![]() |
รัชกาลที่6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นศาลเทพารักษ์ เป็นที่ประดิษฐานพระคเณศร์ หรือพระพิฆเนศวร ซึ่ง นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนงพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยคเณศร์ไว้ ณ ที่อันเป็นศูนย์กลาง ของ พระราชวังสนามจันทร์ สำหรับบวงสรวง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อ มอง จากพระที่นั่ง พิมานปฐมจะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์และพระที่นั่งพิมานปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
![]() |
![]() |
ย่าเหลเป็นสุนัขพันทางที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลี้ยง และทรงโปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง ภาย หลังถูกลอบยิงจนตาย รัชกาลที่ 6 ทรงโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพ และ สร้างอนุสาวรีย์ย่าเหลขึ้น ทั้งยังทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนไว้อาลัยแก่ย่าเหลด้วยย่าเหลเป็นสุนัขพันทาง ขนปุย หางเป็นพวงสีขาว มีแต้มดำ หูตก เกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม เดิมเป็นสุนัขของหลวงไชยราษฎร์รักษา (โพ เคหะนันทน์)ตำแหน่งพะทำมะรงหรือผู้ควบคุมนักโทษ (ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพุทธ เกษ ตรานุรักษ์) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จฯ ไปตรวจเรือนจำจังหวัดนครปฐม และทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวนี้ และตรัสชมว่าน่าเอ็นดู หลวงชัยอาญาจึง น้อม เกล้าฯ ถวาย พระองค์จึงทรงรับมาเลี้ยง และพระราชทานนามว่า ในปีที่ 5 ที่ย่าเหลเข้ามาเป็นสุนัขหลวงใน พระราชวัง วันหนึ่งผู้ไปพบย่าเหลนอนตาย ข้างกำแพงพระบรมมหาราชวัง ด้านวัดโพธิ์ ท่าเตียน มีรอยถูกปืนยิง ตามรูปการณ์เชื่อว่าคนที่ฆ่าย่าเหลต้องมิใช่มหาดเล็กธรรมดา เพราะผู้ที่มีปืนในสมัยนั้น จะต้องมียศฐาชั้นเจ้าคุณ ขึ้นไป หรืออาจเป็นชั้นเจ้านายก็เป็นได้ รัชกาลที่ 6ทรงโทมนัสอย่างยิ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพ แก่ย่าเหล มีหีบใส่ศพอย่างดี ปิดทองที่มุมโลงและโปรดฯ ให้แกะสลักรูปย่าเหลวางไว้บนโลงด้วย ทั้งยังให้ มหาดเล็ก แต่งตัวเป็นสัตว์นานาชนิดเข้าร่วมขบวนแห่ศพด้วย นอกจากนี้ี้ยังมีของชำร่วยแจกในงานศพเป็นผ้าเช็ด หน้า พิมพ์รูปย่าเหล และมีตราวชิระที่มุมด้านขวา พระราชทานเป็นของที่ระลึกแก่ทุกคนที่ไปร่วมงานด้วยหลังงาน ศพของย่าเหล พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ขึ้น หล่อรูปย่าเหลด้วย โลหะทองแดง ประดิษฐานไว้ หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน ไว้อาลัยแก่ย่าเหล จารึกไว้ที่ด้านข้างของอนุสาวรีย์ ดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
คุณเข็มหมุด http://kemmud.multiply.com
คุณชาญชัย http://chanchai02.multiply.com
เปิดให้เข้าชมเวลา 9:00-16:00น. ปิดขายบัตรเวลา 15:30น.
คนไทยผู้ใหญ่ 30บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท
มีการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้ชมวันละ 2รอบ เวลา 11:00น. และเวลา 14:00น.
โทร 034 2442 36-7 fax.034 244 235 (โปรดแต่งกายสุภาพ)